เตรียมพร้อมรับมือกับภัยคุกคามจากการทุจริตภายนอกที่สูงขึ้น

รายงานผลสำรวจอาชญากรรมทางเศรษฐกิจและการทุจริต ประจำปี 2565 - ฉบับประเทศไทย

ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ภูมิทัศน์ของการดำเนินธุรกิจได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วจากสถานการณ์โควิด-19 โดยรูปแบบการโจมตีของอาชญากรมีความซับซ้อนขึ้น ความเสี่ยงจากอาชญากรรมทางอินเตอร์เน็ตก็เพิ่มสูงขึ้น รวมไปถึง ภัยคุกคามในรูปแบบใหม่ ๆ เช่น ความเสี่ยงที่เกิดจากการรายงานด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล หรือ ESG (Environmental, Social and Governance reporting fraud) ความเสี่ยงด้านห่วงโซ่อุปทาน (Supply chain fraud) และความเสี่ยงที่เกิดจากการต่อต้านการคว่ำบาตร (Anti-embargo fraud)

ภูมิทัศน์ด้านการทุจริตของประเทศไทย

จากผลสำรวจอาชญากรรมทางเศรษฐกิจและการทุจริต ประจำปี 2565 ฉบับประเทศไทย 22% ขององค์กรไทยที่ตอบแบบสำรวจ กล่าวว่า พวกเขาประสบเหตุทุจริต คอร์รัปชัน หรืออาชญากรรมทางเศรษฐกิจและการเงิน ในช่วงเวลา 24 เดือนที่ผ่านมา

จากการสำรวจดังกล่าวยังพบว่า มีองค์กรไทยเพียง 37% ที่มีพนักงาน หรือเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบโดยตรงด้านการจัดการความเสี่ยง และการกำกับดูแลในระดับองค์กร (เทียบกับ 43% ทั่วโลก) และน้อยกว่า 30% กล่าวว่า จะมีการเพิ่มจำนวนบุคลากรในด้านดังกล่าว (เทียบกับ 53% ทั่วโลก) เพื่อป้องกันภัยจากการทุจริต และอาชญากรรมทางเศรษฐกิจและการเงิน ซึ่งจะเห็นได้ว่า องค์กรไทยนั้นยังมีการจัดการดูแลเรื่องนี้ต่ำกว่าบริษัททั่วโลก

ทั้งนี้ ผลกระทบจากโควิด-19 ยังส่งผลให้องค์กรไทยมีความเสี่ยงสูงที่จะตกเป็นเหยื่อของการทุจริต 3 อันดับแรก ได้แก่ อาชญากรรมทางอินเตอร์เน็ต (24%) การทุจริตจากการจัดซื้อจัดจ้าง (24%) และการยักยอกทรัพย์ (13%)

Download the report

รูปแบบการทุจริตที่ส่งผลให้บริษัทไทยมีความเสี่ยงสูงที่จะตกเป็นเหยื่อของการทุจริต 3 อันดับแรก


“ผลสำรวจของเราแสดงให้เห็นว่า บริษัทไทยยังคงมีความเสี่ยงจากภัยคุกคามจากอาชญากรที่หันมาใช้วิธีการโจมตีใหม่ ๆ ที่มีความซับซ้อนขึ้น และใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยในการเจาะระบบต่าง ๆ นอกจากนี้ บริษัทไทยหลายรายก็ยังไม่ได้ให้ความสำคัญในการลงทุนด้านการบริหารความเสี่ยงและการปฏิบัติตามที่ดีเพียงพอ ฉะนั้น การที่แนวโน้มการทุจริตทั่วโลกปรับตัวเพิ่มขึ้น แต่เรากลับตรวจจับได้น้อยลง ทำให้บริษัทต้องหันมาพิจารณาถึงการลงทุนที่เหมาะสมเพื่อป้องกันธุรกิจของตนจากภัยคุกคามเหล่านี้”

พันธ์ศักดิ์ เสตเสถียร
หุ้นส่วนสายงานที่ปรึกษาด้านความเสี่ยง
บริษัท PwC ประเทศไทย

ผลการสำรวจที่น่าสนใจ

น้อยกว่า 10% ของบริษัทไทยที่ตอบแบบสำรวจ มีการสังเกตการณ์และป้องกันความเสี่ยงจากการถูกฉ้อโกงด้านห่วงโซ่อุปทานในเชิงรุก

 

อ่านเพิ่มเติม

แม้ว่ามากกว่า 50% ขององค์กรไทยจะระบุว่า มีระบบการจัดการความเสี่ยงด้าน ESG แต่ยังคงแสดงความกังวลว่า การรายงานความเสี่ยงนั้น อาจจะมีการบิดเบือนได้จากบุคคลภายในองค์กร หรือ บุคคลที่สามที่เกี่ยวข้องกับองค์กร

อ่านเพิ่มเติม

  1. เข้าใจวงจรชีวิตและกระบวนการปฏิบัติงานขององค์กรจากต้นน้ำถึงปลายน้ำ เพื่อระบุ และทราบถึงความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น กลยุทธ์การป้องกัน และมาตรการรับมือ 

  2. สร้างสมดุลที่เหมาะสมระหว่างประสบการณ์ของผู้ใช้งาน และการควบคุมการฉ้อโกง เพื่อให้มั่นใจได้ว่า ผู้ใช้งานจะได้รับประสบการณ์ที่ดี และองค์กรจะสามารถตรวจพบและยับยั้งการทุจริตได้ทันท่วงที 

  3. รวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องเข้าไว้ด้วยกัน เพื่อประโยชน์ในการวิเคราะห์ การเตือนภัยความเสี่ยง และการแก้ไขปัญหาในภาพรวม

อ่านเพิ่มเติม

Contact us

Phansak Sethsathira

Partner, PwC Thailand

Tel: +66 (0) 2844 1000