รายงานผลสำรวจซีอีโอทั่วโลกประจำปี ครั้งที่ 27 ฉบับประเทศไทย

นำธุรกิจมุ่งสู่การสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ อย่างรวดเร็ว

รายงานผลสำรวจซีอีโอทั่วโลกประจำปี ครั้งที่ 27 ฉบับประเทศไทย
  • Insight
  • 10 Minute Read
  • 28 Mar 2024

ซีอีโอไทยจำนวนมากถึง 67% แสดงความกังวลเกี่ยวกับความอยู่รอดขององค์กรในระยะยาวหากพวกเขายังไม่ปรับตัว ในขณะที่มีเพียง 27% เท่านั้นที่มั่นใจในแนวโน้มรายได้ของบริษัทของตนในอีก 12 เดือนข้างหน้า

ซีอีโอทั่วโลก รวมถึงซีอีโอไทย กำลังเผชิญกับความท้าทายทางเศรษฐกิจมหภาค การเข้ามาของเทคโนโลยี และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ รวมถึงเมกะเทรนด์อื่น ๆ อีกมากมาย ซึ่งความไม่แน่นอนเหล่านี้ถูกสะท้อนให้เห็นโดยสองในสามของซีอีโอไทย (67%) ไม่มั่นใจว่า ธุรกิจของตนจะยังคงสามารถอยู่รอดได้ในอีกทศวรรษหน้า หากพวกเขายังคงดำเนินธุรกิจต่อไปบนเส้นทางปัจจุบัน
 


67% ของซีอีโอไทยไม่คิดว่า ธุรกิจของพวกเขาจะอยู่รอดได้ในเชิงเศรษฐกิจในอีกสิบปีข้างหน้า หากพวกเขายังคงดำเนินต่อไปบนเส้นทางปัจจุบัน

คำถาม: หากบริษัทของคุณยังคงดำเนินไปบนเส้นทางปัจจุบัน คุณคิดว่าธุรกิจของคุณจะสามารถอยู่รอดทางเศรษฐกิจได้นานแค่ไหน?
 

ที่มา: รายงานผลสำรวจซีอีโอทั่วโลกประจำปี ครั้งที่ 27 ของ PwC ฉบับประเทศไทย


ทั้งนี้ บรรดาซีอีโอไทยมีความเชื่อมั่นต่อเศรษฐกิจโลกที่แตกต่างกันไป โดย 45% เชื่อว่าเศรษฐกิจโลกจะปรับตัวดีขึ้นในช่วง 12 เดือนข้างหน้า แต่อีก 45% ก็เชื่อว่าเศรษฐกิจจะลดลง ซึ่งบ่งชี้ถึงความเชื่อมั่นต่อแนวโน้มเศรษฐกิจโลกแบบผสม
 


ความเชื่อมั่นต่อเศรษฐกิจโลกของซีอีโอไทยยังคงแบ่งแยกกัน

คำถาม: คุณเชื่อว่าการเติบโตทางเศรษฐกิจโลก (เช่น GDP) จะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรในอีก 12 เดือนข้างหน้า?
 

ที่มา: รายงานผลสำรวจซีอีโอทั่วโลกประจำปี ครั้งที่ 27 ของ PwC ฉบับประเทศไทย


ข้อบ่งชี้อีกประการหนึ่งที่แสดงถึงความจำเป็นในการคิดค้นสิ่งใหม่ ๆ ที่กำลังเพิ่มขึ้น คือ แรงกดดันที่เพิ่มขึ้นอย่างมากที่ซีอีโอไทยคาดว่าจะเผชิญในอีกสามปีข้างหน้าจากปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงรูปแบบธุรกิจ

เมื่อเปรียบเทียบกับห้าปีที่ผ่านมา ซีอีโอไทยคาดว่าแรงกดดันจากการเปลี่ยนแปลงที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี (55%) ความต้องการของลูกค้า (48%) กฎระเบียบของภาครัฐ (55%) และการดำเนินการของคู่แข่ง (48%) จะเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (24%) ก็ยังได้รับการยอมรับมากขึ้นเล็กน้อยว่าเป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการปรับเปลี่ยนธุรกิจในอีกสามปีข้างหน้า
 


ซีอีโอไทยแสดงสัญญาณของการพลิกโฉมธุรกิจ

คำถาม: โปรดระบุขอบเขตที่ปัจจัยต่อไปนี้ได้ผลักดันการเปลี่ยนแปลงวิธีที่บริษัทของคุณสร้าง ส่งมอบ และรวบรวมคุณค่าในช่วงห้าปีที่ผ่านมา/สามปีถัดไป (แสดงเฉพาะคำตอบ ‘ในระดับมาก’ และ ‘ในระดับสูงมาก’)
 

ที่มา: รายงานผลสำรวจซีอีโอทั่วโลกประจำปี ครั้งที่ 27 ของ PwC ฉบับประเทศไทย


การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ถือเป็นหนึ่งในเมกะเทรนด์ที่กดดันให้ซีอีโอไทยต้องปรับเปลี่ยนรูปแบบการดำเนินธุรกิจใหม่ โดยประเทศไทยได้ดำเนินการและลงทุนเพื่อบรรเทาผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เช่นเดียวกับประเทศอื่น ๆ ทั่วโลกและในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก

ในส่วนของการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนนั้น ซีอีโอไทยถึง 79% ได้ดำเนินการปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้พลังงานเสร็จสิ้นแล้ว หรืออยู่ระหว่างดำเนินการ ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยทั่วโลกที่ 75% และค่าเฉลี่ยในเอเชียแปซิฟิกที่ 68%
 


การดำเนินงานของซีอีโอไทยที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ 

คำถาม: ด้านล่างนี้ คือ รายการการดำเนินการที่บริษัทต่าง ๆ อาจดำเนินการเกี่ยวกับการเปลี่ยน แปลงสภาพภูมิอากาศ ข้อใดต่อไปนี้อธิบายระดับความคืบหน้าของบริษัทของคุณในการดำเนินการแต่ละอย่างได้ดีที่สุด?
 

การลดการปล่อยก๊าซคาร์บอน

การปรับตัวต่อสภาพภูมิอากาศ

การเปลี่ยนผ่านที่เป็นธรรม

ธรรมชาติ

หมายเหตุ: เปอร์เซ็นต์ที่แสดงอาจไม่ได้ผลรวม 100 เนื่องจากการปัดเศษ
ที่มา: รายงานผลสำรวจซีอีโอทั่วโลกประจำปี ครั้งที่ 27 ของ PwC ฉบับประเทศไทย


GenAI ถือเป็นเมกะเทรนด์ลำดับที่สองที่กำลังเข้ามาเปลี่ยนภูมิทัศน์ทางธุรกิจ และยังเป็นความท้าทายที่สำคัญสำหรับซีอีโอไทยในการตามให้ทันเทคโนโลยีต่าง ๆ ที่จะเข้ามาสร้างความเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลัน

เมื่อมองไปอีกสามปีข้างหน้า 61% ของซีอีโอไทยเชื่อว่า GenAI จะเปลี่ยนวิธีที่ธุรกิจสร้าง ส่งมอบ และรวบรวมคุณค่าอย่างมีนัยสำคัญ

ซึ่งแม้ว่าเปอร์เซ็นต์นี้จะต่ำกว่าค่าเฉลี่ยทั่วโลกที่ 70% และค่าเฉลี่ยในเอเชียแปซิฟิกที่ 76% แต่ซีอีโอไทยก็มีทัศนคติเชิงบวกต่อโอกาสทางธุรกิจที่จะเกิดขึ้นจาก GenAI
 


ทัศนคติของซีอีโอไทยเกี่ยวกับ GenAI

คำถาม: คุณเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยกับข้อความต่อไปนี้เกี่ยวกับ GenAI มากหรือน้อยเพียงใด?
 

12 เดือนที่ผ่านมา

อีก 12 เดือนข้างหน้า

สามปีข้างหน้า

ที่มา: รายงานผลสำรวจซีอีโอทั่วโลกประจำปี ครั้งที่ 27 ของ PwC ฉบับประเทศไทย


แม้ว่า GenAI จะนำเสนอโอกาสให้กับธุรกิจ แต่ก็มีความเสี่ยงเช่นกันหากไม่ได้ถูกนำมาใช้อย่างมีความรับผิดชอบ จากข้อมูลของซีอีโอไทย 70% ยอมรับว่า GenAI สามารถนำไปสู่ความเสี่ยงด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ ซึ่งสอดคล้องกับความเห็นของซีอีโอทั่วโลก (64%) และเอเชียแปซิฟิก (49%) 

ในขณะที่ GenAI ถูกนำไปผนวกเข้ากับธุรกิจ จึงมีความสำคัญอย่างยิ่งที่บริษัทต่าง ๆ จะต้องสร้างกรอบการใช้งาน AI ที่มีความรับผิดชอบ เพื่อลดความเสี่ยงต่าง ๆ เช่น การละเมิดข้อมูล และการใช้ GenAI ในทางที่ผิด

ดาวน์โหลดรายงานวันนี้

ถึงเวลาที่ซีอีโอไทยจะต้องดำเนินการในด้านต่าง ๆ เพื่อนำองค์กรสู่การสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ และลดความเสี่ยง

สำรวจเพิ่มเติม

อ่านรายงานฉบับเอเชียแปซิฟิกและรายงานฉบับโลกได้ที่นี่

Contact us

Pisit Thangtanagul

Chief Executive Officer, PwC Thailand

+66 (0) 2844 1000

Email

Sinsiri Thangsombat

Markets Leader, PwC Thailand

+66 (0) 2844 1000

Email

Lead authors

Ploy Ten Kate

Director, Marketing and Communications, PwC Thailand

+66 (0) 2844 1000 Ext. 4713

Email

Jirayuth Unnaha

Manager, Marketing and Communications, PwC Thailand

+66 (0) 2844 1000 Ext. 4710

Email

Follow us